ริดสีดวง (Hemorrhoids) เกิดจากเลือดคั่งที่ปลายหลอดเลือดดำลำไส้ใหญ่และขอบรูทวารหนัก จนเกิดการอักเสบและโป่งพอง หากอยู่ในขั้นที่รุนแรงหลอดเลือดบางส่วนจะยื่นออกมาข้างนอกรูทวาร สร้างความทรมานเป็นอย่างมาก โดยส่วนใหญ่สาเหตุของการเกิดริดสีดวงมาจาก พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน อาหารแสลง พันธุกรรม รวมไปถึงผู้ป่วยโรคอื่นๆ ก็มีโอกาสเป็นริดสีดวง
- ริดสีดวงภายใน (Internal hemorrhoids) : เกิดขึ้นบริเวณเหนือแนวเส้นประสาทหรือเหนือรูทวาร ผู้ที่เป็นริดสีดวงแบบภายในมักจะไม่รู้ตัว เพราะมองไม่เห็น คลำไม่เจอก้อนเนื้อ และไม่มีอาการเจ็บปวด นอกจากจะมีอาการแทรกซ้อน อาจมีอาการถ่ายเป็นเลือด หรืออุจจาระเป็นเลือด
- ริดสีดวงภายนอก (External hemorrhoids) : เกิดขึ้นบริเวณใต้แนวเส้นประสาท ซึ่งบริเวณนี้จะมีเส้นประสาทรับความเจ็บปวดอยู่บริเวณปากทวาร หากเป็นริดสีดวงแบบภายนอกจะมีอาการเจ็บปวดเป็นอย่างมาก อาจมีอาการถ่ายเป็นเลือด อุจจาระเป็นเลือด เพราะกลุ่มเส้นเลือดและเนื้อเยื่อปากทวารจะถูกดันไปด้านข้างและเบียดออกมาเป็นก้อนนูน
ระยะที่ 1 : อาการริดสีดวง มีเส้นเลือดดำโป่งพองในทวารหนัก จะมีเลือดไหลออกมาเวลาเบ่งถ่ายอุจจาระ และถ้าท้องผูก ถ่ายยาก เลือดก็จะออกมากขึ้น ริดสีดวงภายใน อาจมีอาการถ่ายเป็นเลือด หรือ อุจจาระเป็นเลือด
ระยะที่ 2 : อาการริดสีดวง หัวริดสีดวงทวารโตมากขึ้น เริ่มโผล่ออกมาพ้นทวารหนัก ท้องผูก ถ่ายยาก เวลาเบ่งอุจจาระจะออกมาให้เห็นมากขึ้น และหดกลับได้เองหลังการขับถ่าย ริดสีดวงภายใน อาจมีอาการถ่ายเป็นเลือด หรือ อุจจาระเป็นเลือด
ระยะที่ 3 : อาการริดสีดวง ท้องผูก ถ่ายยาก หัวริดสีดวงทวารจะโผล่ออกมามากกว่าเดิม เวลาไอจาม หรือยกของหนักๆ ที่ต้องเกร็งท้อง จะเกิดการเบ่ง ให้หัวริดสีดวงทวารออกมาข้างนอก อาจมีอาการถ่ายเป็นเลือด หรืออุจจาระเป็นเลือด ริดสีดวงภายนอก และไม่สามารถหดกลับเข้าไปได้เอง ต้องใช้นิ้วช่วยดันกลับเข้าไป
ระยะที่ 4 : อาการริดสีดวง ท้องผูก ถ่ายยาก หัวริดสีดวงโตมากขึ้น สามารถมองเห็นจากภายนอกได้ชัดเจน เรียกว่า ริดสีดวงภายนอก มีอาการบวม อักเสบและอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงมาก โดยมีเลือดออกมาเสมอ อาจเป็นน้ำเหลืองเมือกลื่น และมีอุจจาระออกมาได้ ทำให้เกิดความสกปรกและเปียกชื้นตลอดเวลา อาจมีอาการคันที่ขอบปากทวารร่วมด้วย บางครั้งอาจเน่าและอักเสบมากขึ้น อาจมีอาการถ่ายเป็นเลือด หรืออุจจาระเป็นเลือด นำมาซึ่งการติดเชื้อได้ง่าย และถ้ามีเลือดออกอยู่เรื่อยๆ จะทำให้ซีด อ่อนเพลีย น้ำหนัก
โรคนี้ มีได้หลายสาเหตุ โดยเฉพาะพฤติกรรมการขับถ่ายของแต่ละคน ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้
- ภาวะท้องผูกเรื้อรัง อุจจาระเป็นเลือด
- ท้องเสียบ่อย
- พฤติกรรมชอบเบ่งอุจจาระอย่างแรง
- ชอบนั่งถ่ายอุจจาระเป็นเวลานาน โดยเฉพาะคนที่ชอบเล่นมือถือในขณะขับถ่าย
- ใช้ยาสวนอุจจาระหรือยาระบายบ่อยเกินความจำเป็น
- มีภาวะโรคตับแข็ง ซึ่งมีผลทำให้เลือดดำอุดตัน จนบริเวณเส้นเลือดดำบริเวณทวารโป่งพอง
- อายุที่มากขึ้นทำให้กล้ามเนื้อหย่อนยาน จนทำให้เบาะรองเลื่อนลงมาจนยื่นออกมาจากทวารหนัก
- บุคคลในครอบครัวมีประวัติ เคยเป็นโรคริดสีดวงทวารหนัก
- พฤติกรรมที่ต้องยกของหรือออกแรงเบ่งมากๆ